นาฬิกานักบิน หรือ Pilot Watch เดิมเค้าเรียกชื่อว่า Observation Watch ซึ่งเริ่มใช้กันในกองทัพอากาศเยอรมันในช่วงทศวรรษ 1930 โดยใช้ในภารกิจการบินของกระทรวงการบิน หรือ Reichs-Luftfahrt-Ministerium (ministry for aviation) เป็นหลัก โดยการใช้นาฬิกาข้อมือแบบนักบินนี้ เพื่อให้ทหารอากาศที่ออกไปปฏิบัติภารกิจสามารถปฏิบัติงานได้ตามแผนที่กำหนดไว้ โดยก่อนจะออกปฏิบัติภารกิจจะต้องมาซักซ้อมแผนการณ์ และกำหนดเวลาในการปฏิบัติการที่สอดคล้องกัน ดังนั้นนาฬิกาที่ใช้จะต้องตั้งนาฬิกาให้ตรงกัน โดยลงความแม่นยำลงในระดับวินาที คำถามคือทำไมต้องใช้นาฬิกาและการกำหนดเวลาในการปฏิบัติภารกิจ ทำไมไม่ใช้วิทยุสื่อสารคุยกันไม่ง่ายกว่าหรือ คำตอบคือการใช้วิทยุสื่อสารคุยกันนั้นจะมีจุดรั่วไหลคือข้าศึกจะสามารถดักฟังการพูดคุยได้ และทำให้แผนรั่วไหล
ดังนั้นกระทรวงการบินเยอรมันจึงได้กำหนด Spec ของนาฬิกานักบินไว้ดังนี้
- หน้าปัดจะต้องมีขนาดใหญ่เพื่อให้เห็นได้ง่าย
- ที่เลข 12 ของหน้าปัดจะไม่ใช่เลข 12 แต่เป็นรูปสามเหลี่ยม
- ไม่มียี่ห้อติดไว้ที่หน้าปัด
- พรายน้ำจะต้องสว่าง
- เข็มวินาทีจะต้องอยู่ตรงกลางเท่านั้น
- มีหมายเลขของนาฬิกาสลักไว้ข้างๆ เช่น FLXXXX
- และที่สำคัญคือ นาฬิกาจะต้องเดินตรง (อันนี้ไม่หมูนะครับสำหรับนาฬิกากลไกในสมัยสงครามโลก เนื่องจากเป็นนาฬิกากลไกไม่ใช่นาฬิกาใส่ถ่านหรือนาฬิกาควอซ)
ในขณะนั้นกระทรวงการบินเยอรมันได้สั่งนาฬิกานักบิน หรือ Pilot Watch หรือ Observation Watch จากบริษัทจำนวน 5 บริษัท คือ Laco, IWC, Lange & Sohne, Wempe และ Stowa โดยกระทรวงการบินของเยอรมันได้รับรองให้ผลิตนาฬิกาสำหรับนักบินของกองทัพอากาศเยอรมัน (B-Uhr) ซึ่งนาฬิกาสำหรับนักบินนั้นจะมีขนาดใหญ่ 55 mm เพื่อใช้สวมทับไปบนแจ๊คเก็ทนักบินได้เลย โดย Laco เป็นนาฬิกาที่กระทรวงการบินสั่งให้ผลิตให้กับนักบินรบมากที่สุด
ข้างต้นนับว่าเป็นการใช้เทคโนโลยีพื้นฐานในการปฏิบัติภารกิจ ซึ่งนาฬิกานักบินจึงเป็นสิ่งที่นักสะสมทั่วโลกชื่นชอบในประวัติศาสตร์ของตัวมันเอง
ที่มา: ความเป็นมาของนาฬิกานักบิน
No comments:
Post a Comment